สิงหาคม 11, 2023

วิธีการเลือกใช้เซ็นเซอร์ Acoustic Emission

บทความนี้ แนะนำ วิธีการเลือก ใช้ เซ็นเซอร์ Acoustic Emission ให้เหมาะสม กับ การทดสอบ ในแต่ละ รูปแบบ แต่ก่อนอื่นเรามาเรียนรู้กันก่อนว่าการทดสอบด้วย Acoustic Emission คืออะไร?

การทดสอบด้วย Acoustic Emission เป็นการทดสอบ โครงสร้าง ของวัตถุภายใต้แรงกระทำ การทดสอบแบบนี้เป็น การทดสอบแบบที่ไม่ทำให้ชิ้นงานเสียหาย โดยการสร้าง สัญญาณอะคูสติค ไปบนผิววัสดุ แล้วตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของคลื่นความถี่สูง ซึ่งจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วทำการกรองเอา สัญญาณรบกวน ออก เพื่อตรวจสอบรูปแบบของสัญญาณต่อไป การทดสอบแบบนี้ สามารถทำการตรวจจับ ความเสียหายเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะเกิดความเสียหายขนาดใหญ่ ที่มีความรุนแรงมากกว่าได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำการทดสอบนี้ไป ประยุกต์ใช้ ใน การวิจัยทาง วัสดุศาสตร์ ตรวจสอบรอยเชื่อม ตรวจสอบการรั่วซึม และรูปแบบอื่น ๆ ได้อีกด้วย

ในการเลือกใช้งาน เซ็นเซอร์ Acoustic Emission มีสิ่งที่ ต้องคำนึงถึง ดังต่อไปนี้

  • สภาพแวดล้อม: ยกตัวอย่าง เช่น ในจุดที่อุณหภูมิสูง หรือพื้นที่อันตราย จำเป็นต้องใช้ เซ็นเซอร์ที่มีคุณลักษณะเหมาะสมต่อพื้นที่นั้น ๆ
  • ความถี่ของสัญญาณที่ต้องการตรวจจับ: ช่วง ความถี่ ของ สัญญาณ ที่ตรวจจับนั้น จะเหมาะสมกับการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ กัน ดังแสดงในตารางด้านล่าง
การใช้งาน20-100 kHz100-400 kHz>400 kHz
ตรวจการ ผุ กร่อน ของถังก้นแบนX
หา รอยรั่ว ของ ท่อส่งน้ำ หรือ ท่อส่งน้ำมันX
หา รอยรั่ว ของ ท่อ ที่ติดตั้งอยู่ใต้ดินX
หา รอยแตก ของ ท่อส่งความร้อนX
ทดสอบ ท่อ ความดันสูงX
ตรวจจับ พาร์เชียล ดิสชาร์จ (Partial Discharge)X (เมื่อสัญญาณรบกวนต่ำ)X
ทดสอบ โครงสร้างโลหะX
ทดสอบ วัสดุผสม (Composite)X
ทดสอบ คอนกรีต (Concrete)X
กระบวนการผลิตแบบแห้ง การแปรรูปพืช และไม้X
ทดสอบชิ้นงานเล็ก ๆX
ทดสอบ การรั่ว ของ วาล์ว (Valve Leakage)X
  • ขนาดของเซ็นเซอร์ และการตอบสนองต่อความถี่: ขนาดของเซ็นเซอร์ มีผลกับ ความถี่เรโซแนนซ์ เซ็นเซอร์ขนาดใหญ่ จะมีความถี่เรโซแนนซ์ต่ำกว่า
  • วงจรขยายสัญญาณ: เซ็นเซอร์ แบบมีวงจรขยายสัญญาณในตัว จะมีขนาดใหญ่ และหนักกว่า แต่จะเหมาะกับการใช้งานภาคสนาม ที่มีสัญญาณรบกวนสูง ในทางกลับกันเซ็นเซอร์ที่ไม่มีวงจรขยายในตัว ไม่ควรมีระยะห่างระหว่าง เซ็นเซอร์ กับวงจรขยาย มากเกินไป เพราะ สัญญาณที่วัด อาจจะได้รับผลกระทบ จากสัญญาณรบกวน ได้

เซ็นเซอร์ Acoustic Emission มีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบดังต่อไปนี้

ประเภทคุณลักษณะรุ่น
Airborneเซ็นเซอร์ แบบที่ไม่มีการสัมผัส กับ ผิววัสดุAM4I-40kHz
AM2I-23kHz
Differentialเซ็นเซอร์ ที่มีตัวจับสัญญาณสองตัว ทำให้ช่วยลดสัญญาณรบกวนแบบคอมมอนโหมดWDI-AST-100-900kHz
WD-100-900kHz
PKWDI-200-1000kHz
D9241A-10-100kHz
ISD9203B-100-1000kHz
Flat Frequency Responseเซ็นเซอร์ ที่มีการตอบสนองความถี่เท่ากันตลอดย่านความถี่ใช้งานPKBBI
F50I-AST-200-800kHz
F50A-200-800kHz
F30I-AST-150-750kHz
F30A-150-750kHz
F15I-AST-100-450kHz
F15A-100-450kHz
General Purposeเซ็นเซอร์ แบบการใช้งานทั่ว ๆ ไปR6S-60kHz
R6A-60kHz
R50S-500kHz
R3A-30kHz
R30A-300kHz
R15A-150kHz
PKWDI-200-1000kHz
F50A-200-800kHz
F30A-150-750kHz
F15A-100-450kHz
D9241A-10-100kHz
High Temperatureเซ็นเซอร์ ที่เหมาะกับการใช้งานในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงเกินกว่า 75 องศาเซลเซียส ในบางรุ่นสามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 540 องศาเซลเซียสISR3CA-HT-30kHz
S9215-50-650kHz
ISR6CA-HT-60kHz
D9215-50-650kHz
ISR30CA-HT-300kHz
ISR15CA-HT-150kHz
Integral Preampเซ็นเซอร์ แบบที่มีวงจรขยายสัญญาณในตัว ทำให้สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีขึ้นWDI-AST-100-900kHz
R6I-AST-60kHz
R3I-AST-10-40kHz
R30I-UC-300kHz
R15I-AST-150kHz
R.45I
PK6I-60kHz
PK3I-30kHz
PK30I-300KHz
PK15I-150kHz
F50I-AST-200-800kHz
F30I-AST-150-750kHz
F15I-AST-100-450kHz
AM4I-40kHz
ISPKWDIUC-100-800kHz
ISPKWDI-100-800kHz
ISPK6IUC-60kHz
ISPK6I-60kHz
ISPK30IUC-300kHz
ISPK30I-300kHz
ISPK15IUC-150kHz
ISPK15I-150kHz
Intrinsically Safeเซ็นเซอร์ ที่เหมาะกับการใช้งาน ในพื้นที่อันตรายISR3CA-HT-30kHz
ISR6CA-HT-60kHz
ISR6-60kHz
ISR.45-1-30kHz
ISR30CA-HT-300kHz
ISR30-300kHz
ISR3-30kHz
ISR15CA-HT-150kHz
ISR15-150kHz
ISPKWDIUC-100-800kHz
ISPKWDI-100-800kHz
ISPK6IUC-60kHz
ISPK6I-60kHz
ISPK30IUC-300kHz
ISPK30I-300kHz
ISPK15IUC-150kHz
ISPK15I-150kHz
ISD9203B-100-1000kHz
Low Frequencyเซ็นเซอร์ ที่สามารถตอบสนองได้ดี ในย่านความถี่ต่ำ ไม่เกิน 60 kHzR.45I-LP
R.45I
R.45-1-30kHz
PK3I-30kHz
Medium Frequencyเซ็นเซอร์ ที่สามารถตอบสนองได้ดี ในย่านความถี่ปานกลาง ไม่เกิน 150 kHzPK6I-60kHz
PK15I-150kHz
Miniatureเซ็นเซอร์ ที่มีขนาดเล็ก เหมาะกับการติดตั้งในพื้นที่จำกัด หรือวัสดุที่มีขนาดเล็กNano30-150-750kHz
Micro200HF-500-4500kHz
S9225-300-1800kHz
PICO HF-1.2-500-1850kHz
PICO-200-750kHz
Mini30S-270-970kHz
Micro80-200-900kHz
HD2WD-330-1850kHz
Undergroundเซ็นเซอร์ ที่ใช้สำหรับตรวจสอบโครงสร้างใต้ดิน เช่น ท่อส่งก๊าซ ถังน้ำมัน หรืออุโมงค์ เหมาะสำหรับการตรวจสอบโครงสร้าง และการเคลื่อนตัวของผืนดินR15-UG-150kHz
Underwaterเซ็นเซอร์ ที่ใช้สำหรับตรวจสอบโครงสร้างใต้น้ำ เช่น แท่นขุดเจาะน้ำมัน เหมาะสำหรับการตรวจสอบโครงสร้างใต้น้ำ และถังบรรจุของเหลวR30-UC-200-400kHz
R30I-UC-300kHz
R15I-UC & R15-UC-50-400kHz
ISPKWDI-100-800kHz
ISPK6IUC-60kHz
ISPK30IUC-300kHz
ISPK15IUC-150kHz
Widebandเซ็นเซอร์ ที่สามารถตอบสนองได้ดี ในย่านความถี่กว้าง9203-ASL-4-20mA
WSa-100-1000kHz
WDI-AST-100-900kHz
WD-100-900kHz
S9208-20-1000kHz
F50I-AST-200-800kHz
F50A-200-800kHz
F30I-AST-150-750kHz
F30A-150-750kHz
F15I-AST-100-450kHz
F15A-100-450kHz

ในบทความถัดไป เราจะมาพูดถึงเทคโนโลยีอุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับ อ่านสัญญาณ จากเซ็นเซอร์ Acoustic Emission ท่านสามารถติดต่อทีมงาน เทคสแควร์ เพื่อติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการเลือก เซ็นเซอร์ Acoustic Emission ที่เหมาะสมกับงานของท่าน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Acoustic Emission Crack Diagnosis

error: Content is protected...