ภาพรวม
เทคโนโลยี sound camera (บางครั้งเรียก parital discharge camera, pd camera หรือ acoustic camera) เป็นการประมวลผลสัญญาณเสียงจากไมโครโฟนหลาย ๆ ตัว (microphone array) เพื่อหาตำแหน่งที่เกิดสัญญาณรบกวนขึ้นแล้วนำไปแสดงผลเป็น heat map ซ้อนทับอยู่บนภาพที่ทำการถ่ายทอดแบบเรียลไทม์เพื่อทำการหาตำแหน่งที่เกิดสัญญาณรบกวนขึ้น ซึ่งเทคโนโลยี sound camera สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น
- หาตำแหน่งของการรั่วซึม
- หาต้นกำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือน
- หาตำแหน่งที่เกิด partial discharge
ในการเลือกใช้ sound camera ให้เหมาะสมกับงานของเรานั้น มีข้อควรพิจารณาหลาย ๆ อย่างดังจะได้กล่าวถึงในลำดับถัดไป
การเลือกใช้ sound camera ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
การเลือกใช้งาน sound camera ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการตรวจสอบนั้นมีข้อพิจารณาหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น
- มีหน้าจอแสดงผลที่ติดกับตัวกล้องในลักษณะ hand held ช่วยให้สามารถเดินตรวจสอบภายในสถานประกอบการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
- น้ำหนักเบา ทำให้สามารถใช้งานได้เป็นเวลานานโดยไม่เกิดความเมื่อยล้า
- อายุแบตเตอรี่ที่ยาวนานซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการตรวจสอบในสถานประกอบการอาจกินเวลานานหลายชั่วโมง แบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานได้นานทำให้สามารถตรวจสอบเสร็จในครั้งเดียว ช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
- ความสามารถในการปรับค่าผ่านหน้าจอของอุปกรณ์โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามสถานการณ์จริง
- ความสามารถในการปรับคลื่นความถี่ที่ต้องการจับสัญญาณจะช่วยให้เราสามารถโฟกัสกับปัญหาที่เราต้องการตรวจสอบได้ดีขึ้น
- ความสามารถในการตรวจจุดกำเนิดสัญญาณได้หลายจุดพร้อม ๆ กัน ช่วยให้สามารถค้นพบต้นกำเนิดปัญหาได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
- ความสามารถในการดูระดับสัญญาณเสียงบนหน้าจอแบบเรียลไทม์และปรับระดับสัญญาณเสียงที่ต้องการตรวจจับ (threshold) ได้ทันที
- จำนวนของไมโครโฟนที่มากพอที่จะสามารถประมวลผลและบอกตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ
- ความสามารถในการอ่านสัญญาณจากไมโครโฟนด้วยความเร็วสูงช่วยให้สามารถวัดสัญญาณเสียงที่ความถี่สูงซึ่งหูมนุษย์ไม่ได้ยิน
- ความสามารถในการบันทึกทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพื่อนำไปช่วยวิเคราะห์ปัญหาในภายหลัง นอกจากนี้ควรทำการบันทึกสัญญาณจากไมโครโฟนเพื่อนำไปประมวลผลในภายหลังซึ่งสามารถช่วยวิเคราะห์สาเหตุเบื้องลึกของปัญหาได้อีกด้วย
- หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะบันทึกการตรวจสอบได้ยาวนานเท่าที่ต้องการ
- ความสามารถในการเคลื่อนย้ายไฟล์ที่บันทึกไว้อย่างสะดวกรวดเร็วไม่ว่าจะด้วยการเชื่อมผ่าน USB หรือใช้ thumb drive/SD card
- ความสามารถในการบันทึกหรือแปลงไฟล์ไปเป็นรูปแบบที่ใช้งานด้วยโปรแกรมอื่นได้ง่าย เช่น Excel เป็นต้น
- ความสามารถในการปรับตำแหน่งเมื่อเกิดความผิดเพี้ยนขึ้นหลังจากใช้งานเป็นเวลานาน
ทั้งนี้ผู้อ่านอาจมีข้อพิจารณาอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ ผู้อ่านสามารถ ติดต่อ ทีมงาน เทคสแควร์ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมว่า sound camera สามารถช่วยเติมเต็มในส่วนของข้อพิจารณาเหล่านี้ได้หรือไม่?
บทสรุป
การใช้งานเทคโนโลยี sound camera สามารถช่วยในการตรวจสอบการรั่วซึม การสั่นสะเทือน และ partial discharge ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า
หากผู้อ่านมีคำถามเพิ่มเติม สามารถ ติดต่อ ทีมงาน เทคสแควร์ เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยี sound camera ในการตรวจจับการรั่วซึม การสั่นสะเทือน หรือ partial discharge ในสถานประกอบการของท่านได้