ในการใช้งานเครื่องมือวัดของ NI เพื่อทำการวัดและทดสอบนั้นไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเสมอไป เราสามารถใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในการทดสอบว่าเราจะทำการวัดได้อย่างไร? เมื่อทำการวัดเรียบร้อยแล้วเรายังสามารถนำเอาการตั้งค่าในซอฟต์แวร์ไปใช้ในการเขียนโปรแกรมได้อีกด้วย ซอฟต์แวร์ดังกล่าวคือ InstrumentStudio ซึ่งสามารถใช้ควบคุมเครื่องมือวัดของ NI ดังต่อไปนี้
- Arbitrary waveform generator (AWG)
- Digital multimeter (DMM)
- Electronic load
- Oscilloscope
- Power supply
- Source measurement unit (SMU)
- Vector signal analyzer (VSA)
- Vector signal generator (VSG)
- Vector signal tranceiver (VST)
โดย Instrument Studio จะถูกติดตั้งพร้อมกับไดรเวอร์ของเครื่องมือวัดข้างต้น (NI-FGEN, NI-DMM, NI-DCPower, NI-SCOPE, NI-RFmx) เราสามารถเปิด InstrumentStudio ได้จาก Start>National Instruments>InstrumentStudio เมื่อเปิด InstrumentStudio ขึ้นมา เราสามารถทำการเลือกว่าจะให้ InstrumentStudio จัดหน้าจอสำหรับควบคุมเครื่องมือวัดเหล่านี้โดยอัตโนมัติหรือจะทำการจัดหน้าจอเอง
หากเราเลือกจัดหน้าจอเอง (Manual layout) เราจะสามารถเลือกได้ว่าให้เครื่องมือวัดแต่ละตัวอยู่ตรงกลาง (Create large panel) อยู่ด้านข้าง (Create small panel) หรืออยู่รวมกลุ่มกับเครื่องมือวัดอื่น ๆ
โดยเครื่องมือวัดที่อยู่ตรงกลางนั้นจะแสดงผลเป็นรูปคลื่นสัญญาณขณะที่เครื่องมือวัดอื่น ๆ จะเห็นเป็นเพียงตัวเลข โดยที่หน้าจอแต่ละส่วนเราสามารถตั้งค่าเครื่องมือวัดและ enable/disable ช่องสัญญาณตามความต้องการ ในส่วนของเครื่องมือวัดบางชนิดเรายังสามารถทำการประมวลผลเพิ่มเติมเพื่อวัดคุณสมบัติของสัญญาณได้โดยอัตโนมัติโดยเราสามารถเพิ่มการประมวลผลที่ต้องการได้โดยกด Add/Remove นอกจากนี้เรายังสามารถกด เพื่อทำการตั้งค่าลงไปในรายละเอียดของแต่ละช่องสัญญาณ

สำหรับคลื่นสัญญาณและค่าต่าง ๆ ที่เราทำการวัดได้เราสามารถบันทึกค่าเป็นไฟล์ TDMS หรือ CSV พร้อมบันทึกหน้าจอเป็นไฟล์ PNG โดยกด และสามารถบันทึกหน้าจอไว้ในคลิปบอร์ดโดยกด
เราสามารถบันทึกสัญญาณและหน้าจอ
ในส่วนของการตั้งค่าต่าง ๆ เราสามารถเลือก File>Save all หรือกด เพื่อบันทึกการตั้งค่าไว้เรียกใช้ในภายหลังโดยเลือก File>Open project นอกจากนี้เรายังสามารถเลือก File>Export to TestStand หรือกดปุ่ม
เพื่อเก็บการตั้งค่าเครื่องมือวัดไปใช้ใน TestStand ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับควบคุมระบบทดสอบอัตโนมัติของ NI
สุดท้ายหากเรากำลังใช้เครื่องมือวัดกับซอฟต์แวร์อื่น ๆ อยู่ เราสามารถเลือกใช้งาน InstrumentStudio ในโหมด Debug เพื่อทำการเปลี่ยนการตั้งค่าของเครื่องมือวัดและเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับซอฟต์แวร์อื่น ๆ ทันที
หวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้ที่จำเป็นในการควบคุมเครื่องมือวัดของ NI ด้วย InstrumentStudio ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถใช้งานเครื่องมือวัดได้โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม หากผู้อ่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อทีมงาน ติดต่อ ทีมงาน เทคสแควร์ ได้ครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
การเลือกใช้ source measurement unit (SMU) ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
แนะนำเครื่องมือวัดที่ใช้ในการทดสอบอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor Device)