เมษายน 5, 2025

การใช้งานทริกเกอร์บนอุปกรณ์ Pickering

LXI chassis รุ่น 60-106-002, 60-102D-002 และ 60-103D-002 ของ Pickering นั้นสามารถใช้งานทริกเกอร์ได้โดยผ่าน DIO/Trigger Port ซึ่งเป็นคอนเนคเตอร์แบบ Micro-D ตัวผู้ 25 ขา โดยช่องสัญญาณ GPIO ที่ใช้สำหรับทริกเกอร์จะเป็นแบบ Open Drain 5 V

โดยในการใช้งานทริกเกอร์จะต้องใช้งานร่วมซอฟต์แวร์ Sequence Manager ซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

– สามารถควบคุม switch ได้หลายตัวใน sequence เดียว
– สามารถตั้งค่า sequence ได้ถึง 5000 ค่า
– สามารถใช้งานได้กับทริกเกอร์ทั้งแบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
– ช่วยลดความล่าช้าจากการส่งคำสั่งด้วยสาย LAN ทำให้ switch ทำงานได้รวดเร็ว
– มียูสเซอร์อินเตอร์เฟซที่ใช้งานได้ง่าย

โดยในการใช้งานนั้นมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

1. สร้างชุด sequence โดยเลือก Configuration>New และเพิ่มโมดูล switch ใน sequence นั้น ๆ โดยกด หรือกด เพื่อเพิ่มอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่

2. ตั้งค่าการเริ่มต้นทำงานของแต่ละโมดูลโดยการติ๊ก Enable ที่ Initialisation แล้วใส่คำสั่งสำหรับทำงานเริ่มต้น

3. ตั้งค่าสัญญาณทริกเกอร์โดยเลือกแท๊บ Digital Inputs & Outputs แล้วกด เพื่อเพิ่มสัญญาณทริกเกอร์โดยเราสามารถตั้งค่า Id และทิศทางของสัญญาณทริกเกอร์ได้ สำหรับสัญญาณทริกเกอร์แบบซอฟต์แวร์เราจะตั้งค่าสัญญาณได้ ในขณะที่สัญญาณทริกเกอร์แบบฮาร์ดแวร์จะสามารถตั้งค่าขาและขอบของสัญญาณได้

4. สร้างทริกเกอร์โดยเลือกแท๊บ Triggers & Sequences แล้วกด เพื่อเพิ่มทริกเกอร์ โดยทริกเกอร์จะมี 3 โหมด ได้แก่

– Wait Mode: เมื่อ sequence เสร็จสิ้น chassis จะไม่ทำงานจนกว่าจะได้รับคำสั่ง Restart หรือ Reload

– Loop Mode: sequence เริ่มทำงานอีกครั้งเมื่อได้รับสัญญาณทริกเกอร์

– Unload Mode: เมื่อ sequence เสร็จสิ้นจะถูก unload จะไม่ทำงานจนกว่าจะได้รับคำสั่ง Reload

สำหรับทริกเกอร์แต่ละตัวเราสามารถกำหนดสัญญาณทริกเกอร์สำหรับ Acknowledge DIO, Error DIO, Trigger DIO และ Done DIO ได้โดยใช้สัญญาณทริกเกอร์ที่ตั้งค่าในข้อ 3

5. ไปที่แท๊บย่อย Sequences ในแท๊บ Triggers & Sequences แล้วกด เพื่อเพิ่ม sequence สำหรับแต่ละทริกเกอร์โดยเราสามารถตั้งค่าให้ sequence ทำงานต่อเนื่องโดยเราสัญญาณทริกเกอร์เพียงครั้งเดียว (One sequence per trigger) และยังสามารถให้แต่ละ sequence ส่งสัญญาณ Ackonowledge, ตรวจสอบว่ารีเลย์ทำงานหรือไม่ และไม่สนใจ error ได้อีกด้วย เสร็จแล้วจึงใส่คำสั่งกำหนดการทำงานของ switch ในช่อง Commands ของแต่ละ sequence

6. ทำการเพิ่มอุปกรณ์ LXI โดยกด หรือค้นหาอุปกรณ์ LXI อัตโนมัติโดยกด ใต้ Discovery แล้วกด เพื่ออัพโหลดการตั้งค่าไปยังอุปกรณ์

หลังจากนั้นเราจะสามารถสั่งให้ sequence เริ่มทำงานใน Sequence Manager โดยการกดปุ่ม และกดปุ่ม เพื่อหยุดการทำงาน เช่นเดียวกันเราสามารถเขียนโปรแกรมสั่งให้ sequence ทำงานโดยเริ่มจากใช้คำสั่ง unsigned long PICMLX_Connect(unsigned long board, char remoteMachine[], unsigned long remotePort, unsigned long timeout, long *sessionID); หรือ ใน LabVIEW เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ LXI switch โดย remoteMachine คือ ไอพีแอดเดรสของอุปกรณ์, remotePort คือ พอร์ตของอุปกรณ์, timeout คือ เวลานานที่สุดที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ก่อนเกิดปัญหา และ sessionID คือ หมายเลข session สำหรับเรียกใช้งานอุปกรณ์นี้ จากนั้นจึงใช้คำสั่ง unsigned long PIPSLX_Open(long session); หรือ ใน LabVIEW เพื่อเปิดการทำงาน แล้วจึงใช้คำสั่ง unsigned long PIPSLX_Sequence(long session, unsigned long sequenceType); หรือ ใน LabVIEW โดย sequenceType เป็น 1 คือ นับลำดับขึ้น และ 0 คือ นับลำดับลง ส่วน session จะได้จากคำสั่ง PICMLX_Connect

สำหรับรายละเอียดการใช้งาน sequence manager สามารถดูได้จาก Sequence Manager Getting Started Guide

หวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้ที่จำเป็นในการใช้งานทริกเกอร์บนอุปกรณ์ Pickering หากผู้อ่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อทีมงาน ติดต่อ ทีมงาน เทคสแควร์ ได้ครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เริ่มต้นใช้งาน switch แบบ LXI/USB จาก Pickering

การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุม Pickering switch

error: Content is protected...