พฤศจิกายน 7, 2023

เริ่มต้นใช้งาน PicoSource AS108 ด้วยซอฟต์แวร์ PicoSynth 2

บทความนี้เราจะมาเรียนรู้ว่าเราจะเริ่มต้นใช้งาน PicoSource AS108 ได้อย่างไร? ก่อนอื่นเลย เราต้องทำการดาวน์โหลดและติดตั้งไดรเวอร์ก่อน โดยเราสามารถดาวน์โหลดได้จาก https://www.picotech.com/downloads เลือกรุ่น PicoScope AS108 แล้วทำการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ PicoSynth 2 เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วให้ดับเบิ้ลคลิ๊กไฟล์ที่ดาวน์โหลดแล้วเลือก Install เพื่อทำการติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์ของเรา เมื่อทำการติดตั้งเสร็จแล้ว เราสามารถต่อ PicoSource AS108 เข้ากับคอมพิวเตอร์แล้วทำการจ่ายไฟและเปิดสวิทช์ หลังจากนั้นดับเบิ้ลคลิ๊กไอคอน PicoSynth 2 บนเดสค์ทอปเพื่อเริ่มใช้งานซอฟต์แวร์ PicoSynth 2

หลังจากนั้นเราต้องทำการเลือกว่าจะใช้งานกับ PicoSource AS108 ตัวไหนแล้วกด Connect Device เพื่อเริ่มใช้งาน

ซอฟต์แวร์ PicosSynth 2 จะประกอบไปด้วย 4 หน้าจอดังต่อไปนี้

1. Carrier Wave: ใช้สำหรับสร้างสัญญาณความถี่เดียวโดยเราสามารถกำหนดความถี่ (Carrier Wave Frequency), ขนาดสัญญาณ (Level) และเฟส (Phase) แล้วกด Output ตัวบนให้ ON เพื่อสร้างสัญญาณ นอกจากนี้เรายังสามารถสร้างสัญญาณ Amplitude Modulation, Frequency Modulation และ Phase Modulation โดยใช้สัญญาณภายใน (Internal) PicoSource AS108 หรือสัญญาณจากภายนอก (External) ก็ได้ เราสามารถตั้งค่าความถี่ (Frequency) ของสัญญาณมอดุเลชั่นและ Modulation Depth สำหรับสัญญาณ Amplitude Modulation หรือ Modulation Deviation สำหรับสัญญาณ Frequency Modulation และ Phase Modulation แล้วกด Output ตัวล่างให้ ON เพื่อมอดูเลทสัญญาณ

2. Sweep / Hop: ใช้สำหรับตั้งค่าในการกวาดพารามิเตอร์สำหรับการสร้างสัญญาณ โดยจะทำการกวาดจากค่าที่ 1 ไปค่าที่ 2 (Sweep) กวาดจากค่าที่ 1 ไปค่าที่ 2 แล้วกวาดกลับมาค่าที่ 1 (Bidirectional Sweep) หรือสุ่มเปลี่ยนค่าระหว่างสองค่า (Hop) โดยเราสามารถเลือก Type เพื่อตั้งพารามิเตอร์ที่ต้องการกวาดโดยพารามิเตอร์อื่นจะมีค่าคงที่ นอกจากนี้เรายังสามารถตั้งค่าเวลาที่จะคงค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ไว้ (Dwell Time) และจำนวนจุดที่จะทำการกวาด (Points) โดยเราสามารถใช้ทริกเกอร์จากภายในอุปกรณ์ (Internal) หรือทริกเกอร์จากภายนอกเพื่อเริ่มการทำงาน (External Start) หรือไปยังค่าถัดไป (External Step) สำหรับทริกเกอร์จากภายนอกเราควรตั้งค่า Dwell Time ให้มีค่าต่ำสุด เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วสามารถกด Output ให้ ON เพื่อเริ่มสร้างสัญญาณ

3. Arbitrary: ใช้สำหรับสร้างสัญญาณที่เราตั้งค่าไว้ในไฟล์ Arbitrary List ซึ่งเป็นไฟล์ csv โดยเราสามารถกด Open File เพื่อทำการเลือกไฟล์ โดย Mode จะแสดงค่าพารามิเตอร์ที่ทำการกวาด ซึ่งจะมีทั้งหมด 4 โหมด ได้แก่

  • FrequencyAndLevel: กำหนดค่าความถี่และระดับสัญญาณ โดยเราสามารถตั้งค่า Dwell Time ได้เอง
  • PhaseAndLevel: กำหนดค่าเฟสและระดับสัญญาณ โดยเราสามารถตั้งค่า Dwell Time และความถี่ได้เอง
  • FrequencyLevelAndDwell: กำหนดค่าความถี่ ระดับสัญญาณและ Dwell Time
  • PhaseLevelAndDwell: กำหนดค่าเฟส ระดับสัญญาณและ Dwell Time โดยเราสามารถตั้งค่าความถี่ได้เอง

เมื่อเลือกไฟล์แล้ว Points แสดงจำนวนจุดและ Duration แสดงระยะเวลาที่ใช้ โดยเราสามารถใช้ทริกเกอร์จากภายในอุปกรณ์ (Internal) หรือทริกเกอร์จากภายนอกเพื่อเริ่มการทำงาน (External Start) หรือไปยังค่าถัดไป (External Step) สำหรับทริกเกอร์จากภายนอกเราควรตั้งค่า Dwell Time ให้มีค่าต่ำสุด เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วสามารถกด Output ให้ ON เพื่อเริ่มสร้างสัญญาณ เราสามารถดูวิธีการเขียนไฟล์ Arbitrary List ได้จากบทความ การสร้าง Arbitrary List  สำหรับ PicoSource AS108

4. Settings: ใช้สำหรับตั้งค่าเสต็ปในการกวาดความถี่ (Frequency Step Size), กวาดขนาดสัญญาณ (Level Step Size) และกวาดเฟส (Phase Step Size) เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วเราสามารถกด Save To Device เผื่อส่งค่าไปยัง PicoSource AS108 หรือกด Save To Disk เพื่อเก็บค่าไว้ในไฟล์ sas และสามารถเรียกใช้ในภายหลังได้โดยกด Open Settings

หวังว่าข้อมูลข้างต้นจะช่วยให้ทุกท่านสามารถใช้งาน PicoSource AS108 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากท่านมีปัญหาติดขัดในการใช้งาน PicoSource หรือ หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จาก Pico Technology ท่านสามารถติดต่อทีมงาน เทคสแควร์ เพื่อติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Download software and manuals for oscilloscopes and data loggers

การสร้าง Arbitrary List  สำหรับ PicoSource AS108

error: Content is protected...