พฤศจิกายน 8, 2023

เริ่มต้นใช้งาน PicoVNA ด้วยซอฟต์แวร์ PicoVNA 5

บทความนี้เราจะมาเรียนรู้ว่าเราจะเริ่มต้นใช้งาน PicoVNA ได้อย่างไร? ก่อนอื่นเลย เราต้องทำการดาวน์โหลดและติดตั้งไดรเวอร์ก่อน โดยเราสามารถดาวน์โหลดได้จาก https://www.picotech.com/downloads เลือกรุ่นของ PicoVNA ที่เราต้องการใช้งานแล้วทำการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ PicoVNA 5 สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดว์ส เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วให้ดับเบิ้ลคลิ๊กไฟล์ที่ดาวน์โหลดแล้วเลือก Install เพื่อทำการติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์ของเรา เมื่อทำการติดตั้งเสร็จแล้ว เราสามารถต่อ PicoVNA เข้ากับคอมพิวเตอร์แล้วทำการจ่ายไฟและเปิดสวิทช์ หลังจากนั้นดับเบิ้ลคลิ๊กไอคอน PicoVNA 5 บนเดสค์ทอปเพื่อเริ่มใช้งานซอฟต์แวร์ PicoVNA 5

หลังจากนั้นเราต้องทำการเลือกว่าจะใช้งานกับ PicoVNA ตัวไหนเพื่อเริ่มใช้งาน

ภาพด้านล่างแสดงหน้าจอของซอฟต์แวร์ PicosVNA 5 โดยจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. Display: แสดงผลการวัดในรูปแบบกราฟโดยเราสามารถคลิ๊กที่ค่าที่ทำการวัดมุมซ้ายบนของกราฟเพื่อเปลี่ยนค่าที่จะวัด ประเภทของกราฟและตำแหน่งของอ้างอิงของระดับสัญญาณ เราสามารถเปลี่ยนความถี่ที่จะทำการวัดได้โดยแก้ตัวเลขความถี่เริ่มต้นทางซ้ายของแกน x ความถี่สุดท้ายทางขวาของแกน x และความกว้างของช่วงความถี่ทั้งหมด (span) ที่ตรงกลางของแกน x นอกจากนี้เรายังสามารถเปลี่ยนหน่วยของความถี่ได้อีกด้วย

เราสามารถคลิ๊กที่มุมขวาบนเพื่อเปลี่ยนระดับอ้างอิงของสัญญาณ ระดับของสัญญาณต่อช่องและหน่วยของระดับสัญญาณ

เมื่อคลิ๊กรูปเกียร์ที่มุมขวาล่างเราจะมีฟังค์ชั่นในการปรับแต่งเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  • Add axis/Remove axis: เพิ่มแกน y ทางด้านขวาแล้วเราจะสามารถทำการวัดได้ 2 ค่าในกราฟเดียว กด Remove axis เพื่อลบแกน y ใหม่ออก
  • Add Zoom Region: ทำการซูมกราฟในช่วงความถี่ที่ต้องการ

เราสามารถคลิ๊กแล้วลากวงกลมที่อยู่บนเส้นแนวตั้งเพื่อทำการลดหรือเพิ่มความถี่ที่ต้องการซูม กด +GRAPH เพื่อเปิด layout editor แล้วเลือกบริเวณที่ต้องการใส่กราฟเพิ่มหรือกด DELETE เพื่อลบ zoom region เราสามารถลบกราฟที่เพิ่มมาโดยไปที่ Sidebar>DISPLAY>OPEN LAYOUT EDITOR

  • Magnify: แยกกราฟออกมาโชว์เดี่ยว ๆ ด้านล่าง กด STOP MAGNIFY เพื่อกลับมาเป็นดังเดิม

  • Maximise graph/Minimise graph: ขยายกราฟเต็มหน้าจอ กด Minimise graph เพื่อกลับมาเป็นดังเดิม

2. ปุ่ม Start: กดเพื่อเริ่มทำการวัด ในระหว่างที่กำลังวัดอยู่จะเปลี่ยนเป็นปุ่ม Stop

3. ปุ่ม Save to Memory: เก็บผลการวัดลงหน่วยความจำ โดยแต่ละครั้งที่กดจะสร้างชุดหน่วยความจำขึ้นมาใหม่ เราสามารถลบหน่วยความจำเหล่านี้ได้โดยไปที่ Sidebar/Display

4. Status/toolbar:แสดงสถานะและควบคุมการทำงานดังต่อไปนี้

  • Mode: แสดงสถานะว่ากำลังทำการวัด (Running) หรือหยุดทำงาน (Stopped)
  • Calibration: แสดงสถานะการสอบเทียบครั้งล่าสุด
  • Bandwidth: ตั้งค่าแบนด์วิทในการวัดตั้งแต่ 10 Hz (สัญญาณรบกวนต่ำสุด) ถึง 140 kHz (วัดเร็วสุด)
  • Trigger: แสดงทริกเกอร์ที่กำลังใช้งาน
  • Cal Warnings: แจ้งเตือนในกรณีที่ไม่ได้ทำการสอบเทียบตามระยะเวลาที่กำหนด
  • Points: จำนวนจุดที่ต้องการวัดตั้งแต่ 51 ถึง 10001
  • Level: ระดับสัญญาณที่จะทำการวัดตั้งแต่ -20 dBm ถึง 10 dBm (6 dBm ที่ความถี่เกิน 6 GHz)
  • De-Embedding: แสดงสถานะการ de-embedding ว่าเปิด (on) หรือปิด (off)

5. Sidebar: มีฟังค์ชันต่าง ๆ ให้เลือกใช้งานดังต่อไปนี้

  • CALIBRATION: กดเพื่อทำการสอบเทียบดังแสดงในการสอบเทียบ PicoVNA ก่อนเริ่มต้นใช้งาน
  • DISPLAY: กดเพื่อทำการปรับแต่งเลย์เอาท์ของ display เปิด (on) หรือปิด (off) การแสดงผลการวัด ณ ปัจจุบัน และจัดการหน่วยความจำสำหรับเก็บผลการวัด

  • ENHANCEMENT: กดเพื่อปรับความเรียบของผลการวัด (Smoothing) การเฉลี่ยผลการวัด (Averaging) และเวลาที่ใช้สำหรับรอให้ผลการวัดนิ่ง (Extra synthesiser settling time)

  • TIME DOMAIN: กดเพื่อตั้งค่าตัวกรองสัญญาณ (Low Pass, Band Pass), Response (Step ใช้ได้เฉพาะ Low Pass Mode, Impulse), แกน x เป็นเวลา (Time) หรือระยะทาง (Distance เหมาะสำหรับวัดจุดบกพร่องในสายสัญญาณ), Effective dielectric constant (มีผลกับการคำนวณระยะทาง), ค่าเรนจ์ของแกน x, กดเพื่อตั้งค่าความถี่ในการวัดให้ตรงกับความถี่ของ IDFT เพื่อเพิ่มความแม่นยำ, ตั้งค่า DC termination (Auto, Resistive ตามค่า Resistance ที่ตั้งไว้, Short Circuit, Open Circuit) และ Window function (None, Kaiser-Bessel, Hanning)

  • MARKERS: กดเพื่อปรับแต่งการแสดงผลของมาร์คเกอร์แต่ละตัว โดยเราต้องกด Ctrl แล้วคลิ๊กขวาตรงตำแหน่งที่ต้องการวางมาร์คเกอร์เพื่อเพิ่มมาร์คเกอร์ก่อน เราสามารถลบมาร์คเกอร์ได้ด้วยการกดปุ่ม DELETE MARKER

  • TRIGGER: กดเพื่อตั้งค่าทริกเกอร์สำหรับทำการวัดในจุดถัดไปโดยสามารถปล่อยตามอิสระ (Free run) กดปุ่ม Trigger (Manual) หรือรับสัญญาณทริกเกอร์จากภายนอก (External)
  • DE-EMBED: กดเพื่อตั้งค่าการ de-embedding ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดการใช้งาน ตั้งค่าออฟเซ็ทของแต่ละพอร์ท ตั้งค่า Effective dielectric constant และทำการระบุไฟล์ s2p ของแต่ละพอร์ท (ADD NETWORK)

6. Menu: มีฟังค์ชันต่าง ๆ ให้เลือกใช้งานดังต่อไปนี้

  • Export Data: บันทึกค่าที่วัดได้เป็นไฟล์ s2p, csv หรือไบนารี่
  • Import Data: อ่านผลการวัดที่บันทึกไว้แล้วแสดงผลใน Workspace
  • Reset to factory defaults: รีเซ็ท Workspace ทั้งหมดเป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงาน
  • Save Session: บันทึก Workspace ทั้งหมดลงไฟล์
  • Load Session: อ่าน Workspace ที่บันทึกไว้เพื่อนำกลับมาใช้งาน
  • User Preferences: ตั้งค่าการใช้งานของการแสดงผล (Display), การพล๊อทค่า (Data), การส่งฟีดแบ๊คแบบนิรนาม (Privacy) และการอนุญาตให้ใช้คำสั่ง SCPI ในการประมวลผลไฟล์ (Security)
  • User Manual: เปิดคู่มือของซอฟต์แวร์ Pico VNA 5

7. Workspace: เราสามารถกดเครื่องหมาย + เพื่อเพิ่ม Workspace ในการทำงาน โดยแต่ละ Workspace สามารถตั้งค่าพารามิเตอร์ที่แตกต่างกันทำให้เราสามารถเปลี่ยนพารามิเตอร์ไปมาได้โดยสะดวก เราสามารถคลิ๊กชวาที่ Workspace แล้วเลือก Delete Workspace เพื่อลบ Workspace ที่ไม่ใช้แล้วออกได้

หวังว่าข้อมูลข้างต้นจะช่วยให้ทุกท่านสามารถใช้งาน PicoVNA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากท่านมีปัญหาติดขัดในการใช้งาน PicoVNA หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จาก Pico Technology ท่านสามารถติดต่อทีมงาน เทคสแควร์ เพื่อติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Download software and manuals for oscilloscopes and data loggers

การสอบเทียบ PicoVNA ก่อนเริ่มต้นใช้งาน

error: Content is protected...