พฤศจิกายน 8, 2023

การใช้งาน PicoSource AS108 ร่วมกับ LabVIEW

บทความนี้เราจะมาเรียนรู้ว่าเราจะใช้งาน PicoSource AS108 ร่วมกับ LabVIEW ได้อย่างไร? ก่อนอื่นเลย เราต้องทำการดาวน์โหลดและติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จำเป็นก่อน โดยจะมีทั้งหมด 4 ซอฟต์แวร์ ได้แก่

  1. PicoSynth2: ประกอบไปด้วยไดรเวอร์และไลบรารี่ที่จำเป็นสำหรับการควบคุม PicoSource โดยเราสามารถดาวน์โหลดได้จาก https://www.picotech.com/downloads เลือก PicoScope>PicoSource AS108>Software แล้วเลือกจำนวนบิทของ LabVIEW ที่เราต้องการใช้งาน เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วให้ดับเบิ้ลคลิ๊กไฟล์ที่ดาวน์โหลดแล้วเลือก Install เพื่อทำการติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์ของเรา
  2. ตัวอย่างการใช้งาน PicoSource กับ LabVIEW: สามารถดาวน์โหลดได้จาก https://github.com/picotech/picosdk-picosource-ni-labview-examples
  3. Example Dependencies: เป็น VI ที่เรียกใช้งานโดยไฟล์ตัวอย่างของ LabVIEW สามารถดาวน์โหลดได้จาก https://github.com/picotech/picosdk-ni-labview-shared เสร็จแล้วให้นำไฟล์ไปไว้ที่โฟลเดอร์ shared ในตัวอย่างของ LabVIEW ที่ดาวน์โหลดมาในข้อ 2
  4. เอกสารอ้างอิงในการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุม PicoSource AS108: สามารถดาวน์โหลดได้จาก https://www.picotech.com/download/manuals/picosource-as108-agile-synthesizer-programmers-guide.pdf โดยเอกสารจะอ้างอิงกับ API ภาษา C ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับ LabVIEW และภาษาอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน

เมื่อทำการดาวน์โหลดและติดตั้งทุกอย่างเรียบร้อยแล้วให้ทำการเปิด AS108.vi ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์ picosynth ของตัวอย่างที่ดาวน์โหลดมาจาก https://github.com/picotech/picosdk-picosource-ni-labview-examples ระหว่างทำการเปิดไฟล์ถ้ามีการถามหา picosynth.dll เราสามารถเปิดได้จาก C:\Program Files\Pico Technology\PicoSynth 2\ หรือ C:\Program Files (x86)\Pico Technology\PicoSynth 2\ ขึ้นกับจำนวนบิทของ LabVIEW ที่ใช้ หากมีการถามหา VI ตัวอื่น ๆ สามารถพบได้ในโฟลเดอร์ที่ดาวน์โหลดมาจาก https://github.com/picotech/picosdk-ni-labview-shared โดยตัวอย่างนี้จะทำการสร้างสัญญาณตามค่าที่ตั้งไว้บน front panel เมื่อกด Real Time Update หรือ Apply Settings และหยุดทำงาน โดยการตั้งค่าต่าง ๆ นั้นจะเหมือนกับการใช้งานซอฟต์แวร์ PicoSynth 2 เมื่อกดปุ่ม Stop โดย front panel และ block diagram ถูกแสดงในภาพด้านล่าง

โดยในการทำงานนั้นจะมีเพียง 3 ขั้นตอนหลัก ๆ เท่านั้น ได้แก่

1. เปิดเซสชั่นไปยัง PicoSource AS 108 ด้วย picosynthOpen.vi ซึ่งจะทำการค้นหา PicoSource AS108 ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วยฟังค์ชั่น picosynthEnumerateUnits หากไม่มีปัญหาอะไรจะทำการเปิดเซสชั่นไปยัง PicoSource AS108 ด้วยฟังค์ชั่น picosynthOpenUnit โดยใช้ซีเรียลนัมเบอร์หรือต่อไปยัง PicoSynth AS108 ตัวแรกที่เจอแล้วทำการอ่านข้อมูลของ PicoSynth AS108 มาแสดงผล ทั้งนี้หากเจอปัญหาจะมีการแจ้งเตือนและหยุดการทำงานของ VI

2. ทำการเซ็ทพารามิเตอร์ตามที่ตั้งไว้บน front panel ด้วย vi ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการประมวลค่าพารามิเตอร์เพื่อที่จะวิเคราะห์ว่าจะใช้ฟังค์ชั่นไหนในการทำงาน ซึ่งสามารถมีได้ทั้งหมด 7 แบบดังแสดงด้านล่าง หากมีปัญหาเกิดขึ้น VI จะหยุดทำงานและทำการแจ้งเตือน

  • 0: หยุดการสร้างสัญญาณโดยเรียกใช้ฟังค์ชั่น picosynthSetOutputOff
  • 1: สร้างสัญญาณความถี่เดียวด้วยฟังค์ชั่น picosynthSetFrequency
  • 2: สร้างสัญญาณ Amplitude Modulation ด้วยฟังค์ชั่น picosynthSetAmplitudeModulation
  • 3: สร้างสัญญาณ Frequency Modulation ด้วยฟังค์ชั่น picosynthSetFrequencyModulation
  • 4: สร้างสัญญาณ Phase Modulation ด้วยฟังค์ชั่น picosynthSetPhaseModulation
  • 5: สร้างสัญญาณด้วย Arbitrary List แบบ 2 พารามิเตอร์ด้วยฟังค์ชั่น picosynthSetPhaseAndLevelSweep หรือ picosynthSetFrequencyAndLevelSweep
  • สร้างสัญญาณด้วย Arbitrary List แบบ 3 พารามิเตอร์ด้วยฟังค์ชั่น picosynthSetArbitraryPhaseAndLevel หรือ picosynthSetArbitraryFrequencyAndLevel

3. ปิดเซสชั่นไปยัง PicoSource AS 108 ด้วย picosynthClose.vi โดยการเรียกใช้งานฟังค์ชั่น picosynthCloseUnit และทำการตรวจสอบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่

หวังว่าบทความข้างต้นจะช่วยให้ท่านสามารถใช้งาน PicoSource AS108 ร่วมกับ LabVIEW ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ท่านสามารถติดต่อทีมงาน เทคสแควร์ เพื่อติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน PicoSource หรือผลิตภัณฑ์จาก Pico Technology ร่วมกับ LabVIEW หรือภาษาโปรแกรมมิ่งอื่น ๆ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Pico Technology Github

PicoSource AS108 Agile Synthesizer Programmer’s Guide

เริ่มต้นใช้งาน PicoSource AS108 ด้วยซอฟต์แวร์ PicoSynth 2

การสร้าง Arbitrary List  สำหรับ PicoSource AS108

error: Content is protected...