พฤษภาคม 25, 2023

การต่อสัญญาณไปยังโมดูลดาต้าแอคควิซิชั่นแบบเอนกประสงค์ของ NI

บทความนี้แนะนำการต่อสัญญาณไปยังโมดูลดาต้าแอคควิซิชั่นแบบเอนกประสงค์ของ NI ซึ่งโมดูลเหล่านี้จะมีหมายเลขรุ่นขึ้นต้นด้วย 60, 62 หรือ 63 เช่น USB-6003 หรือ PCIe-6361 เป็นต้น ซึ่งโมดูลดาต้าแอคควิซิชั่นแบบเอนกประสงค์ของ NI นั้นจะมี 4 ฟังค์ชั่นการใช้งานหลัก ๆ ที่มีการต่อสัญญาณแตกต่างกันไป ได้แก่

1. อินพุทแบบอนาล็อก: ฟังค์ชันนี้ใช้สำหรับอ่านสัญญาณอนาล็อกเข้ามายังโมดูล โดยการต่อสัญญาณนั้นจะมี 3 แบบ คือ differential, single ended ground referenced (RSE) และ single ended nonreferenced (NRSE) โดยแบบ differential นั้นจะสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีที่สุดและสามารถต่อกับสัญญาณที่มีกราวนด์ได้โดยตรง แต่ต้องต่อตัวต้านทานลงกราวนด์ถ้าสัญญาณไม่มีกราวนด์ แบบ RSE เหมาะสำหรับต่อสัญญาณที่ไม่มีกราวนด์เท่านั้น และแบบ NRSE นั้นสามารถต่อได้ทั้งกับสัญญาณที่มีกราวนด์และสัญญาณที่ไม่มีกราวนด์ โดยสัญญาณที่มีกราวนด์นั้น ขากราวนด์สามารถต่อกับช่อง AI SENSE ได้โดยตรง ส่วนสัญญาณที่ไม่มีกราวนด์ต้องทำการต่อตัวต้านทานลงไปที่อนาล็อกกราวนด์ของโมดูล

ในส่วนของการต่อแบบ differential นั้น ช่องสัญญาณ – จะเป็นช่องสัญญาณที่อยู่ห่างไป 4 หรือ 8 ช่องขึ้นอยู่กับโมดูล

2. เอาท์พุทแบบอนาล็อก: ฟังค์ชันนี้ใช้สำหรับส่งสัญญาณอนาล็อกออกไปจากโมดูล ซึ่งการต่อสัญญาณเองก็จะมีในส่วนของช่องสัญญาณกับกราวนด์ ซึ่งวิธีการต่อนั้นสามารถอ้างอิงได้จากวิธีการต่ออินพุทแบบอนาล็อก

3. อินพุทและเอาท์พุทแบบดิจิตอล: ในส่วนของการอ่านและเขียนสัญญาณดิจิตอลนั้น โมดูลเอนกประสงค์ของ NI จะรองรับสัญญาณแบบ TTL ซึ่งการเชื่อมต่อนั้นจะมีตัวช่องสัญญาณเองและกราวนด์ ซึ่งในการต่อสัญญาณนั้นต้องต่อกราวนด์ถึงกันด้วย

นอกจากนี้ในส่วนของอินพุทและเอาท์พุทแบบดิจิตอลนั้น จะมีทั้งแบบสแตติกคือ อ่านหรือขียนสัญญาณครั้งละหนึ่งค่า และแบบเวฟฟอร์มคือ อ่านหรือเขียนสัญญาณตามค่าสัญญาณนาฬิกาที่ตั้งไว้ โดยเราสามารถตรวจสอบได้จากคุณสมบัติของโมดูลว่าสามารถใช้งานแบบเวฟฟอร์มได้ที่ช่องสัญญาณใด

4. อินพุทและเอาท์พุทสำหรับเคาน์เตอร์และไทม์เมอร์: สำหรับฟังค์ชันเคาน์เตอร์และไทม์เมอร์นั้น อินพุทใช้สำหรับนับจำนวนพัลซ์ วัดความถี่ วัดความกว้างพัลซ์ และอื่น ๆ เอาท์พุทใช้สำหรับสร้างสัญญาณพัลซ์ตามความถี่และดิวตี้ไซเคิลที่กำหนด โดยเคาน์เตอร์และไทม์เมอร์จะใช้ช่องสัญญาณเดียวกับสัญญาณดิจิตอล ดังนั้นวิธีการต่อจะใช้วิธีเดียวกัน ในส่วนของช่องสัญญาณที่เลือกใช้นั้น เราสามารถกำหนดได้ตอนเขียนโปรแกรมหรือขณะทำการตั้งค่า โดยช่องสัญญาณนั้นจะเรียกว่าช่องสัญญาณ PFI (Programmable Function Interface) ซึ่งเราสามารถดูได้จากพินเอาท์ของแต่ละโมดูลว่าขาพีเอฟไอคือช่องสัญญาณดิจิตอลช่องใด

หวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้ที่จำเป็นในการต่อสัญญาณไปยังโมดูลดาต้าแอคควิซิชั่นแบบเอนกประสงค์ของ NI ถ้าหากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมสามารถติดต่อทีมงาน Techsquare ช่วยได้ครับ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

Field Wiring and Noise Considerations for Analog Signals

error: Content is protected...