ธันวาคม 30, 2023

เริ่มต้นใช้งาน PicoScope ซีรี่ส์ 9400 ด้วยซอฟต์แวร์ PicoSample 4

บทความนี้เราจะมาเรียนรู้ว่าเราจะเริ่มต้นใช้งาน PicoScope ซีรี่ส์ 9400 ด้วย ซอฟต์แวร์ PicoSample 4 ได้อย่างไร? ก่อนอื่นเลย เราต้องทำการดาวน์โหลดและติดตั้งไดรเวอร์ก่อน โดยเราสามารถดาวน์โหลดได้จาก https://www.picotech.com/downloads เลือกรุ่นของ PicoScope ที่เราต้องการใช้งานแล้วทำการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ PicoSample 4 รุ่น Stable สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดว์ส เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วให้ดับเบิ้ลคลิ๊กไฟล์ที่ดาวน์โหลดแล้วเลือก Install เพื่อทำการติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์ของเรา เมื่อทำการติดตั้งเสร็จแล้วเราสามารถต่ออะแดปเตอร์เข้ากับ PicoScope ซีรี่ส์ 9400 แล้วจึงเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายยูเอสบีหรือสายแลน โดยค่าเริ่มต้นของเครือข่ายแลน คือ IP address: 192.168.0.221, Subnet Mask: 255.255.255.0 และ Gateway: 192.168.1.27 จากนั้นดับเบิ้ลคลิ๊กไอคอน PicoSample 3 บนเดสค์ทอปเพื่อเริ่มใช้งาน

ภาพด้านล่างแสดงหน้าจอของซอฟต์แวร์ PicosSample 4 โดยจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. Main menu: ใช้สำหรับเข้าถึงความสามารถต่าง ๆ ของอุปกรณ์ โดยมีเมนูย่อยดังต่อไปนี้

  • File: การบันทึกคลื่นสัญญาณลงหน่วยความจำและการตั้งค่าอื่น ๆ
  • Edit: บันทึกข้อมูลส่วนต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์ลงคลิปบอดร์ด
  • View: ตั้งค่าการมองเห็นส่วนต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์
  • Setup: ตั้งค่าช่องสัญญาณต่าง ๆ แกนเวลาและทริกเกอร์
  • Measurements: ฟังค์ชั่นวัดคลื่นสัญญาณ
  • Analysis: ฟังค์ชั่นวิเคราะห์คลื่นสัญญาณ
  • System: เปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้งานหรือตั้งค่าเกี่ยวกับการหาอุปกรณ์ผ่านเครือข่าย Ethernet
  • Utility: เครื่องมือต่าง ๆ เช่น การสอบเทียบอุปกรณ์
  • Help: เปิดไฟล์ Help และดูข้อมูลของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ นอกจากนี้เราสามารถไปยัง Help>About…>TCP / IP Properties เพื่อตั้งค่าเครือข่ายแลนของอุปกรณ์
  • ?: กดแล้วคลิ๊กไปที่ส่วนต่าง ๆ ของ PicoSample 4 เพื่อเปิดไฟล์ Help ของส่วนนั้น ๆ

2. System controls: ใช้สำหรับควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของอุปกรณ์ โดยมีเมนูย่อยดังต่อไปนี้

  • Clear: ลบสัญญาณที่กำลังแสดงผลออกจาก Display area
  • Run: ทำการวัดสัญญาณต่อเนื่อง
  • Stop: หยุดวัดสัญญาณ
  • Single: ทำการวัดสัญญาณเพียงครั้งเดียว
  • Autoscale: ปรับแกน x และ y ใน Display area โดยอัตโนมัติ
  • Default Setup: เรียกใช้การตั้งค่าเริ่มต้น
  • Undo: ยกเลิกการเปลี่ยนค่าล่าสุด
  • Redo: ทำการเปลี่ยนค่าที่ยกเลิกไป
  • Copy: จับภาพหน้าจอ PicoSample 4 ไว้ในคลิปบอร์ด
  • Help: กดแล้วคลิ๊กไปที่ส่วนต่าง ๆ ของ PicoSample 4 เพื่อเปิดไฟล์ Help ของส่วนนั้น ๆ หรือดับเบิ้ลคลิ๊กเพื่อเปิดไฟล์ Help ทันที

3. Status area: ใช้สำหรับแสดงสถานะการทำงาน

4. Display area: แสดงรูปคลื่นที่ทำการวัด โดยเราสามารถเลือกช่องสัญญาณใน Permanent controls แล้วคลิ๊กซ้ายแช่ไว้เพื่อเลื่อนสัญญาณขึ้นลงหรือเลื่อนซ้ายขวาได้ เรายังสามารถคลิ๊กซ้ายแช่ไว้แล้วลากกรอบสี่เหลี่ยมเพื่อทำการซูมได้ด้วย

5. Measurement area: แสดงค่าที่ได้จากการวัดโดยสามารถแสดงค่าจาก Scales, Color Grade, Marker, Measure, Histogram, Eye Diagram และ Mask Test

6. Permanent controls: ใช้สำหรับปรับแต่งการแสดงผลของแต่ละช่องสัญญาณ (volt/div), การปรับแต่งแกนเวลา (time/div) และตั้งค่าทริกเกอร์ว่าจะใช้ช่องสัญญาณใด ขาขึ้นหรือขาลงและระดับสัญญาณเท่าใด

7. Toolbar: ใช้สำหรับตั้งค่าการทำงานของอุปกรณ์ (Channels, Acquisition, Trigger และ Display), ตั้งค่าและทำการวัดสัญญาณ (Marker, Measure, Histogram และ Eye Diagram), จัดการไฟล์ (Save/Recall), วิเคราะห์สัญญาณ (Math และ Mask Test) และตั้งค่า/ปรับแต่งอุปกรณ์ (Utility)

8. Left side menu: คลิ๊กซ้ายที่ปุ่มต่าง ๆ ใน Toolbar เพื่อแสดง Left side menu โดยเมนูจะแตกต่างกันไปตามปุ่มที่กด

9. Right side menu: คลิ๊กขวาที่ปุ่มต่าง ๆ ใน Toolbar เพื่อแสดง Right side menu โดยเมนูจะแตกต่างกันไปตามปุ่มที่กด

หวังว่าข้อมูลข้างต้นจะช่วยให้ทุกท่านสามารถใช้งาน PicoScope ซีรี่ส์ 9400 ร่วมกับซอฟต์แวร์ PicoSample 4 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากท่านมีปัญหาติดขัดในการใช้งาน PicoScope ซีรี่ส์ 9400 หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จาก Pico Technology ท่านสามารถติดต่อทีมงาน เทคสแควร์ เพื่อติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Download software and manuals for oscilloscopes and data loggers

The A to Z of PC oscilloscopes

เปรียบเทียบการสุ่มสัญญาณแบบแบบ Real-Time กับแบบ Equivalent Time ในออสซิลโลสโคป

error: Content is protected...