ในการวัดคลื่นสัญญาณด้วยออสซิลโลสโคปนั้นโดยปกติจะการวัดสัญญาณตามช่วงระยะเวลาหรือจำนวนแซมเปิ้ลที่กำหนดไว้เรียกว่า 1 เรคคอร์ด หลังจากนั้นเมื่อได้รับสัญญาณตรงตามเงื่อนไขทริกเกอร์ก็จะทำการวัดสัญญาณเพื่อเก็บไว้ในเรคคอร์ดถัดไป การวัดสัญญาณลักษณะนี้เรียกว่า block mode ทว่าจะมีลักษณะงานบางประเภทที่เราไม่เหมาะสมกับ block mode เช่น การบันทึกสัญญาณที่มีระยะเวลายาวนานเพื่อนำไปวิเคราะห์ในภายหลังหรือการวิเคราะห์สัญญาณแบบเรียลไทม์ เป็นต้น งานลักษณะนี้จำเป็นต้องอ่านสัญญาณเข้ามาต่อเนื่องตลอดเวลาเป็นระยะเวลายาวนานซึ่งเราจะต้องใช้งานออสซิลโลสโคปในสตรีมมิ่งโหมด (streaming mode) ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้สามารถใช้ได้ทั้งกับซอฟต์แวร์ PicoScope และเขียนโปรแกรมด้วย API
การใช้งาน streaming mode ในซอฟต์แวร์ PicoScope นั้น เราสามารถสตรีมสัญญาณเก็บไว้ได้มากที่สุด 2 GS แต่ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยความจำบนคอมพิวเตอร์ด้วย โดยเราสามารถตั้งค่าการสตรีมสัญญาณได้โดยเลือก Scope ที่ทูลบาร์ด้านบน แล้วเลือก Sampling>Buffer memory แล้วจึงเลือกจำนวนแซมเปิ้ลที่ต้องการเก็บใน Target number of samples ดังแสดงในภาพด้านล่าง
ในส่วนของการเรียกใช้งานสตรีมมิ่งโหมดผ่าน API นั้นเราสามารถอ้างอิงคำสั่งที่ต้องการใช้งานได้จากคู่มือการเขียนโปรแกรมของ PicoScope แต่ละรุ่นใน https://www.picotech.com/library/documentation ภาพด้านล่างแสดงบล๊อคไดอะแกรมของ PicoScope2000aExampleStreamingMSO.vi ซึ่งทำการสตรีมสัญญาณด้วย PicoScope 2208B MSO แล้วบันทึกลงไฟล์ TDMS ใน LabVIEW ข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ลูปของการอ่านค่าสัญญาณจาก PicoScope และลูปของการแปลงค่าและบันทึกคลื่นสัญญาณจะถูกแยกออกจากกันเพื่อให้ลูปอ่านค่าสัญญาณสามารถวนกลับไปดึงค่าออกมาจากหน่วยความจำของ PicoScope ได้ก่อนที่หน่วยความจำจะเต็ม
ทั้งนี้สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของสตรีมมิ่งโหมดก็คือซอฟต์แวร์จะต้องวนลูปเพื่ออ่านสัญญาณจาก PicoScope ออกมาก่อนที่หน่วยความจำจะเต็ม ซึ่งการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ได้ นอกจากจะต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงแล้ว การเชื่อมต่อที่มีความเร็วสูงก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญ อินเตอร์เฟซ USB 2.0 นั้นมีความเร็วสูงสุดในการทดสอบจริงที่ 30 MB/s ซึ่งหมายความว่าเราสามารถแซมปลิ้งสัญญาณที่ 30 MS/s สำหรับความละเอียด 8 บิตและ 15 MS/s สำหรับความละเอียด 12 บิต สำหรับอินเตอร์เฟซ USB 3.0 นั้นสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 300 MB/s ในการทดสอบจริง ตารางด้านล่างแสดงแซมปบิ้งเรทของ PicoScope แต่ละรุ่นในการสตรีมมิ่งด้วยซอฟต์แวร์ PicoScope และ API สังเกตว่าแซมปลิ้งเรทที่สามารถทำได้จะน้อยกว่าแซมปลิ้งเรทใน block mode
รุ่น |
PicoScope |
API |
2204A & 2205A |
1 MS/s |
1 MS/s |
2000 |
9.6 MS/s |
31 MS/s |
3000D |
17 MS/s |
125 MS/s |
4262 |
10 MS/s |
10 MS/s |
4444 |
16.67 MS/s |
50 MS/s |
4000A |
20 MS/s |
80 MS/s |
5000D |
15 – 20 MS/s |
125 MS/s (8 บิต) |
6000E |
20 MS/s |
312 MS/s (8 บิต) |
หวังว่าบทความข้างต้นจะช่วยให้ท่านสามารถใช้ PicoScope ในการสตรีมสัญญาณเพื่อไปใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ ท่านสามารถติดต่อทีมงาน เทคสแควร์ เพื่อติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จาก Pico Technology
บทความที่เกี่ยวข้อง