ปัจจุบันการเครือข่าย CAN ถูกแบ่งออกไปตามรูปแบบการสื่อสารมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะใช้เครื่องมือในการสื่อสารที่แตกต่างกัน โดยหลัก ๆ จะมีการใช้งานอยู่ 3 รูปแบบดังต่อไปนี้
1. CAN High Speed (CAN HS): เป็นรูปแบบการส่งข้อมูลด้วยความเร็วตั้งแต่ 40 kbit/s ไปจนถึง 1 Mbit/s โดยจะสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุด 8 Byte ต่อหนึ่งข้อความ เป็นรูปแบบการส่งข้อมูลด้วย CAN ที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน โดยปกติแล้วอุปกรณ์ที่ระบุว่าสื่อสารด้วย CAN จะสามารถใช้งานกับการสื่อสารรูปแบบนี้ได้ โดยในส่วนของ frame ID นั้น CAN HS รองรับทั้ง standard frame ID 11 bit และ extended frame ID 29 bit ตัวอย่างของอุปกรณ์สำหรับสื่อสารผ่าน CAN HS เช่น Ixxat USB-to-CAN เป็นต้น
2. CAN Flexible Data Rate (CAN FD): เนื่องจากการสื่อสารแบบ CAN HS มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนข้อมูลที่สามารถส่งได้บนแต่ละข้อความ การสื่อสารแบบ CAN FD จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดนี้ ความพิเศษของ CAN FD ก็คือ เราสามารถที่จะตั้งค่า data baud rate ให้แตกต่างจาก baud rate ของตัวข้อความ กล่าวคือ ส่วนหัวของข้อความซึ่งบรรจุข้อมูลต่าง ๆ ของข้อความนั้นจะมี baud rate สูงสุดที่ 1 Mbit/s แต่ในส่วนของข้อมูลเองนั้นสามารถมี baud rate ที่แตกต่างไปและสามารถมีค่าได้สูงสุดถึง 5 Mbit/s นอกจากนี้ CAN FD ยังสามารถบรรจุข้อมูลได้มากถึง 64 Byte ต่อข้อความเลยทีเดียว โดยในส่วนของ frame ID นั้น CAN FD รองรับทั้ง standard frame ID 11 bit และ extended frame ID 29 bit เช่นเดียวกับ CAN HS ปัจจุบันเราเริ่มเห็นการสื่อสารแบบ CAN FD ในท้องตลาดมากขึ้นซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้งานกับ CAN FD ได้จะสามารถสื่อสารแบบ CAN HS ได้ด้วย ยกตัวอย่าง เช่น Ixxat USB-to-CAN FD Automotive เป็นต้น
3. CAN Extra Long (CAN XL): เช่นเดียวกับการสื่อสารแบบ CAN FD ตัวของ CAN XL เองมี baud rate ที่สูงขึ้นไปอีก โดยในส่วนหัวของข้อความนั้นมี baud rate สูงสุดที่ 1 Mbit/s เท่ากันแต่ในส่วนของข้อมูลนั้น CAN XL สามารถรองรับ baud rate ได้สูงถึง 20 Mbit/s นอกจากนี้ยังรองรับข้อมูลได้มากถึง 2048 Byte โดยในส่วนของ frame ID นั้น CAN XL รองรับเฉพาะ standard frame ID 11 bit เท่านั้น CAN XL นั้นเป็นเทคโนโลยีใหม่ซึ่งเราน่าจะได้เห็นในผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดในอีกไม่นาน
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดในเรื่องอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ซึ่งทุกท่านสามารถทำการค้นคว้าหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ เช่น acceptance field, VCAN ID, SDU type, bit stuffing และ CRC เป็นต้น กล่าวโดยสรุป การสื่อสารทั้งสามแบบสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ดังตารางด้านล่าง
หวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน CAN, CAN FD และ CAN XL พร้อมทั้งแนะนำเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้ท่านสามารถสื่อสารกับเครือข่าย CAN ในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ท่านสามารถติดต่อทีมงานเทคสแควร์เพื่อติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่าย CAN ในรูปแบบต่าง ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง