ภาพรวม
เทคโนโลยี Acoustic Emission Sensor หรือหัววัดอะคูสติกอีมิชชั่น ใช้วิธีการสร้างสัญญาณเสียงที่มีขนาดต่ำและฟังสัญญาณที่สะท้อนกลับมาเพื่อทำการวิเคราะห์และตรวจจับรอยแตก การสึกหรอของวัสดุ ความเสียหายของท่อ รอยรั่วหรือรอยร้าวของโครงสร้างแบบต่าง ๆ โดยเทคโนโลยีนี้สามาารถใช้งานร่วมกับเครื่องมือวัดเพื่อเก็บข้อมูล (Data Logger) ได้หลากหลายประเภท สามารถใช้งานได้ทั้งแบบพกพา (Portable) เพื่อการตรวจสอบภาคสนามหรือในห้องทดสอบ (Lab) ก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำการตรวจจับสัญญาณแบบเรียลไทม์ (Online Monitoring) ได้เป็นอย่างดี
เทคโนโลยีอะคูสติคอีมิชชั่นช่วยในการทดสอบความแข็งแรงของวัสดุอย่างไร?
ในการทดสอบความแข็งแรงของวัสดุนั้น วิธีการโดยทั่ว ๆ ไปคือ การใส่แรงเข้าไปที่วัสดุเพื่อดูว่าวัสดุสามารถทนแรงได้เท่าไร? ซึ่งวิธีการนี้จะมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามากเนื่องจากเราไม่ทราบว่าวัสดุสามารถทนแรงได้เท่าไร เราจึงต้องเปลี่ยนแรงที่ทำการทดสอบไปเรื่อย ๆ จนกว่าวัสดุจะถูกทำลาย ซึ่งค่าของแรงที่ได้จะเป็นเพียงค่าประมาณตามที่เราตั้งค่าแรงไว้ นอกจากนี้เรายังไม่ทราบอีกด้วยว่าเกิดอะไรขึ้นกับวัสดุในขณะที่มันกำลังจะถูกทำลาย การใช้งานเทคโนโลยีอะคูสติคอีมิชชั่นจะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นกับวัสดุได้แบบเรียลไทม์ ทำให้เราสามารถทราบได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับวัสดุในขณะที่มันกำลังถูกทำลาย โดยเราไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบซ้ำไปซ้ำมาเนื่องจากเราสามารถเพิ่มแรงขึ้นไปได้เรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เรายังสามารถบันทึกสัญญาณไว้ทำการวิเคราะห์ในภายหลังได้อีกด้วย
การออกแบบสถาปัตยกรรมในการทดสอบ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดาต้าแอคควิซิชั่นในระบบทดสอบความแข็งแรงของวัสดุ โดยทั่ว ๆ ไป ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่
- เซนเซอร์: ประเภทของเซนเซอร์ที่เลือกใช้งานจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของวัสดุและขนาด เป็นต้น ยกตัวอย่าง เช่น ในการทดสอบความแข็งแรง ของส แตนเลส และอะลูมิเนียม ด้วยการดึง เซนเซอร์ รุ่น NANO 30 ถูกเลือกใช้งานเนื่องจากมีขนาดเล็กและทำงานที่ความถี่ 30kHz ซึ่งเหมาะสมกับประเภทของวัสดุ เป็นต้น
- USB AE node: ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของเซนเซอร์ อะคูสติคอีมิชชั่น และแปลงสัญญาณที่อ่านได้เป็นข้อมูลดิจิตอล และส่งไปประมวลผลบนคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ทยูเอสบี
- คอมพิวเตอร์: ใช้สำหรับทำการประมวลผลสัญญาณจากเซนเซอร์อะคูสติคอีมิชชั่นเพื่อวิเคราะห์ผลการทดสอบ
ภาพด้านล่างแสดงตัวอย่างของส่วนดาต้าแอคควิซิชั่นในระบบทดสอบความแข็งแรงของสแตนเลสและอะลูมิเนียม
บทสรุป
จะเห็นได้ว่า การทดสอบ ความแข็งแรง ของวัสดุ โดยใช้ เทคโนโลยี อะคูสติคอีมิชชั่น เข้ามาช่วยทำให้เราสามารถลดได้ทั้งค่าใช้จ่าย และเวลาที่ใช้ในการทดสอบ นอกจากนี้ผลการทดสอบยังมีความเที่ยงตรง และแม่นยำมากขึ้นอีกด้วย หากผู้อ่านมีคำถามเพิ่มเติม สามารถ ติดต่อ ทีมงาน เทคสแควร์ เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน เทคโนโลยี อะคูสติคอีมิชชั่น ในโครงการประเภทต่าง ๆ ได้
ข้อมูลเพิ่มเติม