กรกฎาคม 21, 2022

การย้ายโปรแกรม LabVIEW และ NI-DAQmx ไปยัง คอมพิวเตอร์ เครื่องใหม่

บทความนี้ สอน การย้ายโปรแกรม LabVIEW และ NI-DAQmx ไปยัง คอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น เหมาะกับผู้ใช้ที่ต้องการ อัพเกรด Windows Operating System (OS) หากทำตามขั้นตอนในบทความนี้ จะทำให้ DAQ code ถูกรันบนคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่อย่างถูกต้อง DAQ palette และ DAQ Assistant ปรากฏใน Measurement I/O Function palette ของคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่

เตรียมข้อมูลในคอมพิวเตอร์เครื่องเก่า

  1. หากผู้ใช้ต้องการรักษาข้อมูล Measurement & Automation Explorer (MAX) configuration ซึ่งรวมถึง ชื่ออุปกรณ์, global virtual channels และค่าที่กำหนดไว้อื่นๆ ผู้ใช้ต้องทำการบันทึกข้อมูล MAX Configuration save a copy of the MAX configuration data จากระบบเดิมก่อนจะเริ่มต้นการโยกย้ายหรืออัพเกรด เนื่องจากข้อมูลอาจสูญหายได้แม้ในขณะที่กำลังทำการอัพเกรด Windows การสำรองข้อมูลไว้ก่อนจึงเป็นขั้นตอนที่ปลอดภัยที่สุด
  2. สำรองแอพพลิเคชั่น NI-DAQmx ที่พัฒนาไว้รวมถึง  code ทุกประเภทที่ต้องการย้ายไปยังระบบใหม่ ผู้ใช้สามารถสำรองข้อมูลค่ากำหนดของ MAX ได้ในโลเคชั่นเดียว

การตรวจสอบความเข้ากันได้ของคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่อง ก่อนการย้าย

ปัญหาการใช้ NI-DAQmx ที่พบมากในหลังการอัพเกรดระบบปฏิบัติการ Windows หรือ การย้ายไปเครื่องใหม่ คือการที่ ระบบปฏิบัติการ, LabVIEW, NI-DAQmx อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันไม่ได้

ผู้ใช้ควรคำนึงถึงความเข้ากันได้ของ ซอฟต์แวร์ ไดร์เวอร์ และฮาร์ดแวร์ก่อนทำการเปลี่ยนแปลงใดๆกับระบบ ผู้ใช้สามารถตรวจสอบความเข้ากันได้จากลิงค์ด้านล่างนี้

  1. หากไม่ทราบเวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ NI ที่ใช้อยู่ สามารถเช็คได้จากลิงค์ด้านล่างนี้
    ตรวจสอบเวอร์ชั่นของ LabVIEW และ NI-DAQmx
    – ตัวอย่าง : ระบบปฏิบัติการที่ใช้ปัจจุบันคือ Windows XP, LabVIEW และ NI-DAQmx 9.5.5 และจะย้ายไปที่เครื่องที่ใช้ Windows 10
  2. ตรวจสอบความเข้ากันได้ของ LabVIEW และ เวอร์ชั่นของ Windows ที่จะใช้
    – ตัวอย่าง : LabVIEW 2009 ไม่สามารถใช้กับ Windows 10 ได้ ผู้ใช้ต้องทำการอัพเกรดโปรแกรม LabVIEW ให้เป็นเวอร์ชั่น 2015 หรือสูงกว่า
  3. ตรวจสอบความเข้ากันได้ของ NI-DAQmx และ เวอร์ชั่นของ Windows ที่จะใช้
    – ตัวอย่าง : NI-DAQmx 9.5.5 ไม่สามารถใช้งานร่วมกัน Windows 10 ได้ ผู้ใช้ต้องทำการอัพเกรด NI-DAQmx ให้เป็นเวอร์ชั่น 5 หรือสูงกว่า
  4. ตรวจสอบความเข้ากันของ NI-DAQmx และ LabVIEW เวอร์ชั่นใหม่ที่จะใช้เพื่อให้แน่ใจว่าใช้งานร่วมกันได้
    – ตัวอย่าง : ผู้ใช้ทำการอัพเกรด LabVIEW เป็นเวอร์ชั่น 2017 ซึ่งสามารถใช้งานได้กับ NI-DAQmx เวอร์ชั่น 0 หรือสูงขึ้นไปเท่านั้น ผู้ใช้จึงต้องอัพเกรด NI-DAQmx เป็นเวอร์ชั่น 2017 ด้วย
  5. หากผู้ใช้ต้องการเปลี่ยนเวอร์ชั่นของ NI-DAQmx หรือ LabVIEW จากที่ใช้อยู่เดิม ให้ทำการตรวจว่าสอบอุปกรณ์และโมดูลสามารถใช้งานร่วมกับ NI-DAQmx เวอร์ชั่นใหม่ได้หรือไม่ด้วยการเช็ค Readme  ของ NI-DAQmx เวอร์ชั่นนั้นๆ ผู้ใช้สามารถหา NI-DAQmx Readme ได้จาก คู่มือผู้ใช้ และข้อมูลอื่น ๆ จากลิงค์ NI-DAQmx หากมีการใช้งาน NI PXI ร่วมด้วย ผู้ใช้อาจต้องตรวจสอบความเข้ากันได้ของ PXI Platform Services โดยการคลิก ที่นี่
    – ตัวอย่าง : ผู้ใช้ตรวจสอบ readme ของ NI-DAQmx 17.0 และพบว่าสามารถทำงานร่วมกับ DAQ ฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ได้ ผู้ใข้จึงสามารถอัพเกรดได้อย่างปลอดภัย
    – โดยปกติแล้ว เมื่อมีการติดตั้ง ไดร์เวอร์ NI-DAQmx เวอร์ชั่น ใหม่ จะมีการ support อุปกรณ์รุ่นเก่า หลายเวอร์ชั่น ผู้ช้สามารถตรวจสอบที่เอกสาร Readme เพิ่มเติมตามหัวข้อด้านบน

ขั้นตอน การอัพเกรด หรือ ย้ายไปยัง คอมพิวเตอร์ เครื่องใหม่

เมื่อยืนยันเวอร์ชั่นที่ถูกต้องและทำการสำรองข้อมูลที่จะทำการย้ายไปยังระบบใหม่แล้ว ผู้ใช้สามารถเริ่มการอัพเกรดและตั้งค่าเบื้องต้นของ Windows ใหม่ได้เลย จากนั้นให้ติดตั้งโปรแกรม LabVIEW และ NI-DAQmx ลงเครื่องใหม่ เพื่อเลี่ยงปัญหาระหว่างการติดตั้ง ผู้ใช้ควรติดตั้งโปรแกรมตามลำดับที่ถูกต้อง เนื่องจาก NI Installer ถูกออกแบบมาให้ Application Development Environments (ADEs) เช่นโปรแกรม LabVIEW ต้องถูกติดตั้งก่อน แล้วจึงตามด้วย ไดร์เวอร์ และ addons เช่น NI-DAQmx

  1. ดาวน์โหลดและติดตั้ง LabVIEW ทุกเวอร์ชั่นได้ที่นี่ และสามารถตรวจสอบเวอร์ชั่นที่เหมาะสมได้โดยการคลิก ที่นี่
  2. ดาวน์โหลดและติดตั้ง NI-DAQmx ทุกเวอร์ชั่นได้ที่นี่ และสามารถตรวจสอบเวอร์ชั่นที่เหมาะสมได้โดยการคลิก ที่นี่
  3. อิมพอร์ตข้อมูล Configuration ของ MAX ที่ผู้ใช้สำรองข้อมูลไว้ได้โดยคลิก  ที่นี่ จากนั้นทำตามขั้นตอนที่กล่าวไปแล้วข้างต้นเพื่อบันทึกข้อมูลค่ากำหนดของ MAX
  4. หลังจากทำการติดตั้งโปรแกรม และอิมพอร์ตข้อมูล Configuration ของ MAX เรียบร้อยแล้ว ให้ทดสอบ DAQ ฮาร์ดแวร์โดยการ เปิด Test Panel ใน MAX หรือ ทำการรัน LabVIEW Shipping Example
  5. หากเป็นการย้ายไปเครื่องใหม่ ให้ทำการเก็บข้อมูล NI-DAQmx code และ แอพพลิเคชั่นที่ทำการพัฒนาไว้จากดลเคชั่นที่ผู้ใช้สำรองข้อมูลหรือจาก Windows pc เครื่องเดิม

การทำ Troubleshoot หลังจากการอัพเกรด Windows หรือย้ายไปยัง Window pc เครื่องใหม่

หากผู้ใช้ทำการอัพเกรดระบบปฏัติการ Windows หรือย้ายไปยังเครื่องใหม่ แล้วพบปัญหา ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ทบทวนขั้นตอนที่ 1 – 5 เพื่อให้มั่นใจว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากความเข้ากันได้ของ ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
    หมายเหตุ  : DAQ ฮาร์ดแวร์บางชนิดไม่สนับสนุนระบบปฏิบัติการ 64-bit หรือ Windows Vista หรือสูงกว่า
  2. หากผู้ใช้มีปัญหาเฉพาะอุปกรณ์ (เช่น อุปกรณ์ไม่แสดงบน MAX หรือ ไม่สามารถ เลือก อุปกรณ์จาก LabVIEW ได้เป็นต้น) ให้ตรวจสอบ Readme ว่า NI-DAQmx เวอร์ชั่นที่ติดตั้ง สนับสนุนอุปกรณ์, โมดูล, และ chassis รุ่นนั้น ๆ หรือไม่ โดยสามารถดู Readme ออนไลน์ได้ตามขั้นตอนที่ 4 หรือคลิก  ที่นี่ เพื่อดูขั้นตอนการหา Readme ที่ถูกต้อง
    – ตรวจสอบว่าสามารถพบอุปกรณ์และเชื่อมต่ออย่างถูกต้องใน Windows Device Manager หากอุปกรณ์ NI-DAQmx แสดงผลเป็น “Other Devices” ใน Windows Device Manager ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้ สำหรับอุปกรณ์ USB, PCI, PCIe, PXI, PXIe รวมถึงขั้นตอนสำหรับ PXI และ PXIe โมดูลที่ใช้งานกับ MXI หรือ MXI Express (MXIe) โดยคลิก ที่นี่
    – ถ้าอุปกรณ์ PXI/PXIe DAQ ที่เชื่อมต่อผ่าน MXI หรือ MXI Express (MXIe) ไม่ปรากฏขึ้นอย่างถูกต้อง ให้ตรวจสอบโดยคลิก  MXI Compatibility and Connectivity Guide เพื่อทำการ troubleshoot ในส่วนของ MXI ของระบบ DAQ
    – ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ทำงานได้อย่างถูกต้องโดยเช็คสถานะไฟ LED(s) สามารถอ้างอิงได้จาก คู่มืออุปกรณ์ เพื่อดูความหมายของสี และ แพทเทิร์นของ ไฟLED
    – ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ DAQ ที่เชื่อมกับเน็ตเวิร์คถูกเพิ่มเข้าไปยังอุปกรณ์และอินเตอร์เฟสแล้วโดยคลิก ที่นี่
    – หากอุปกรณ์สามารถเข้ากันได้กับเวอร์ชั่นของ NI-DAQmx ที่ติดตั้ง แต่ยังไม่ปรากฏใน NI-MAX อย่างถูกต้อง ผู้ใช้สามารถทอลองรีเซ็ท NI-MAX Database ได้ โดยคลิก ที่นี่ เพื่อดูขั้นตอนการรีเซ็ท NI-MAX Database
    – สำหรับปัญหาฮาร์ดแวร์เฉพาะอื่น ๆ เช่น accuracy หรือ signal troubleshooting ให้ผู้ใช้อ้างอิงจาก คู่มืออุปกรณ์
    – หาก Windows ที่ใช้เป็นเวอร์ชั่น 8, 8.2, หรือ 10 ให้ตรวจสอบการเริ่มใช้งานได้จากลิงค์ต่อไปนี้ Fast Startup option can cause problems with NI hardware detection
  3. หากผู้ใช้มีปัญหา กับ การเปิด โปรแกรม LabVIEW ให้ตรวจสอบความเข้ากันได้ของ LabVIEW และ ระบบปฏิบัติการ โดยคลิก ที่นี่
  4. ให้ผู้ใช้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ หากพบ error ในแอพพลิเคชั่น NI-DAQmx บนเครื่องใหม่ที่ไม่พบมาก่อนในเครื่องเก่า
    – ตรวจสอบ hardcoded device names/aliases, IP Addresses หรือข้อมูลเฉพาะของฮาร์ดแวร์ในแอพพลิเคชั่น DAQmx แล้วเปรียบเทียบข้อมูลกับข้อมูลการกำหนดค่าที่เก็บไว้ใน MAX  การทำ Troubleshoot ในขั้นตอนนี้สำคัญมากโดยเฉพาะหากผู้ใข้ไม่ได้ อิมพอร์ตหรือเอ็กซ์พอร์ตข้อมูลการกำหนดค่าของ MAX ตามขั้นตอนที่กล่าวไปแล้ว
    – error ที่พบมากคือ -200220: Device identifier is invalid ซึ่งเกิดจากการจับคู่ที่ไม่ถูกต้องของ device aliases หากพบ error นี้แสดงว่า ข้อมูลของอุปกรณ์และ task อาจถูกอิมพอร์ตมาจาก MAX อย่างไม่ถูกต้อง
  5. หากมี NI-DAQmx features ใดขาดไปในโปรแกรม LabVIEW ให้ตรวจสอบว่าได้ติดตั้ง NI-DAQmx ไดร์เวอร์รูปแบบเต็มที่มี ADE Support อย่างไรก็ตาม การติดตั้ง NI-DAQmx subset เช่น  Core, Run-Time, หรือ Configuration Support ไม่ได้เป็นการติดตั้ง LabVIEW API ผู้ใช้สามารถดูขั้นตอนการ troubleshoot เพิ่มเติมในกรณีที่ NI-DAQmx ทำงานไม่ปกติได้โดยการคลิก ที่นี่
  6. กรณีที่ NI-DAQmx palette หาย ไปจาก โปรแกรม LabVIEW อาจมีสาเหตุจาก ไม่ได้มีการติดตั้ง NI-DAQmx หลังจากโปรแกรม  LabVIEW ผู้ใช้สามารถแก้ไขได้โดยการ ดาวน์โหลดและติดตั้ง NI-DAQmx เวอร์ชั่นใหม่ที่ใช้งานได้โดยคลิก ที่นี่ หรือ รัน repair ด้วยเวอร์ชั่นที่มีอยู่โดยดูขั้นตอนได้โดยการคลิก ที่นี่
    – หากการ repair ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ให้ผู้ใช้ลองทำการ force installation NI-DAQmx
error: Content is protected...