กุมภาพันธ์ 2, 2016

การต่ออุปกรณ์เข้ากับอินพุต/เอาท์พุตแบบดิจิตัล

บทความนี้สอนการต่ออุปกรณ์เข้ากับอินพุต/เอาท์พุตแบบดิจิตัล โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ อินพุต/เอาท์พุตแบบดิจิตัลสำหรับแรงดันไฟฟ้าต่ำ (3.3 – 7 โวลต์) และอินพุต/เอาท์พุตแบบดิจิตัลสำหรับแรงดันไฟฟ้าสูง (7 – 24 โวลต์)

1. สำหรับอินพุต/เอาท์พุตแบบดิจิตัลสำหรับแรงดันไฟฟ้าต่ำ (3.3 – 7 โวลต์) โดยทั่ว ๆ ไปแต่ละช่องสัญญาณของวงจรดิจิตัลแรงดันไฟฟ้าต่ำสามารถเป็นได้ทั้งอินพุตและเอาท์พุต สำหรับอินพุตสามารถเชื่อมต่อได้ตามปกติแต่ในส่วนของเอาท์พุตจะมีวงจรอยู่ 2 แบบที่พบได้บ่อย

1.1 Active drive (push-pull): วงจรแบบนี้จะสามารถทำได้ทั้งจ่ายกระแสไปยังโหลดและดึงกระแสจากโหลดลงกราวนด์

1.2 Open collector (open-drain): วงจรแบบนี้เราจะต้องต่อโหลดระหว่างไฟเลี้ยงและช่องสัญญาณ โดยเมื่อเราเปิดเอาท์พุตทรานซิสเตอร์ กระแสจะไหลผ่านโหลดทำให้แรงดันไฟฟ้าที่ช่องสัญญาณมีค่าเข้าใกล้กราวนด์ ในทางตรงกันข้ามเมื่อปิดทรานซิสเตอร์ก็จะไม่มีกระแสไหลทำให้แรงดันไฟฟ้าที่ช่องสัญญาณมีค่าเท่ากับไฟเลี้ยง

2. สำหรับอินพุต/เอาท์พุตแบบดิจิตัลสำหรับแรงดันไฟฟ้าสูง (7 – 24 โวลต์) โดยทั่ว ๆ ไปแต่ละช่องสัญญาณของวงจรดิจิตัลแรงดันไฟฟ้าสูงจะแยกทั้งอินพุตและเอาท์พุตออกจากกัน จะมีวงจรอยู่ 2 แบบที่พบได้บ่อย โดยถ้าอินพุตและเอาท์พุตที่ต่อกันเป็นคนละแบบจะสามารถต่อกันได้โดยตรง

2.1 Sink (NPN): วงจรแบบนี้จะต่อช่องสัญญาณลงกราวนด์เมื่อเปิดทรานซิสเตอร์ เพราะฉะนั้นถ้าทั้งอินพุตและเอาท์พุตเป็นวงจร Sink ฝั่งอินพุตจะต้องต่อตัวต้านทาน pull up ขึ้นไปยังไฟเลี้ยง โดยค่าตัวต้านทานจะเท่ากับไฟเลี้ยงหารด้วยกระแสที่ต้องการ (V/I)

2.2 Source (PNP): วงจรแบบนี้จะต่อช่องสัญญาณไปยังไฟเลี้ยงลงกราวนด์เมื่อเปิดทรานซิสเตอร์ เพราะฉะนั้นถ้าทั้งอินพุตและเอาท์พุตเป็นวงจร Source ฝั่งอินพุตจะต้องต่อตัวต้านทาน pull down ลงไปยังกราวนด์ โดยค่าตัวต้านทานจะเท่ากับไฟเลี้ยงหารด้วยกระแสที่ต้องการ (V/I)

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านสามารถต่ออุปกรณ์ไปยังอินพุต/เอาท์พุตแบบดิจิตัลให้ทำงานได้ถูกต้องตามต้องการ หากผู้อ่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม กรุณา ติดต่อ ทีมงาน เทคสแควร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตั้งค่าฟิลเตอร์เพื่อลดสัญญาณรบกวนในอินพุตแบบดิจิตอล

CompactDAQ คือ อะไร?

error: Content is protected...